สนามหมากรุกไทย

สนามหมากรุกและกฏกติกาการแข่งขัน ความจริงไม่น่าเรียกว่าสนาม เพราะไม่มีการจัดบริเวณใดๆมีเพียงกระดานเท่านั้น แต่โดยระเบียบภาษาไทยเมื่อมีการต่อสู้กันมักเรียกว่า "สนาม" จึงอนุโลมตามแบบแผนภาษาไทยทั่วไปจึงเรียกว่า "สนามหมากรุก"

สนามหมากรุกมี ๒ ประเภทใหญ่ๆ

- สนามหมากรุกชาวบ้าน
- สนามหมากรุกแข่งขัน อย่างเป็นทางการ

๑. สนามหมากรุกชาวบ้าน

เป็นสนามระดับชาวบ้านที่จัดแข่งขันกันในระหว่างหมู่พวกด้วยกันหรือเพื่อฝึกฝีมือ สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป

ก. สนามร้านกาแฟ/สนามร้านตัดผม/สนามวินมอร์เตอร์ไซด์รับจ้าง ฯลฯ

หมากรุกเคยเป็นกีฬาในร่มที่มีคนนิยมมาก สถานที่รวมคนต่างๆจึงกลายเป็นสนามหมากรุกโดยปริยาย

แบ่งตามแบบฉบับที่พบเห็นได้อีก ๒ อย่าง

- ก๑. สนามหมากรุกตามปกติ

เกิดเมื่อนักเล่นหมากรุกมาพบกัน สนทนาและต่อรองเพื่อต่อสู้กันในเชิงกีฬาหมากรุก กติกาเป็นไปในแบบหมากรุก ผู้เชี่ยวชาญหรือฝีมือเหนือกว่าจะเป็นฝ่ายต่อให้แก่ผู้ฝีมือรองกว่าอาจลดเม็ดหรือเบี้ยหน้าเม็ดหรือเบี้ยหน้าม้าหรือเบี้ยหน้าโคนหรืออาจถึงกับลดโคนให้หากฝีมือห่างชั้นกันมาก แต่หากถึงขั้นตะแคงเรือหรือลดเรือถือว่าออกจะหยามกันมากอยู่สักหน่อย คือเอาเรือ ๑ ลำลดสภาพเป็นเพียงแค่เม็ดเดินแบบเม็ดอีกตัวนั่นเองเรียกว่าตะแคงเรือ เพียงอาจต่อรองเอาเบี้ยตัวหนึ่งมาหงายเพื่อเทียมกับเรือตะแคงด้วยบ้างเท่านั้น

กติกาการเล่นไม่ยุ่งยากฝ่ายใดไล่ขุนอีกฝ่ายจนก็ชนะไปในกระดานนั้น การเล่นสนามแบบนี้มักมีการพนันขันต่อเป็นเงินด้วยจึงกลายเป็นแหล่งการพนันโดยปริยาย ส่วนที่ไม่มีการต่อรองพนันแทบหาไม่ได้เพราะเหตุว่าหากไม่พนันจะเล่นกันไม่เต็มฝีมือหรือเต็มสติปัญญาและมักเห็นเป็นของเล่นไม่เอาจริงทำให้น่าเบื่อ

หมากรุกประเภทนี้มักพบเห็นโดยทั่วไปมักจับเป็นกลุ่มเป็นหมู่เพื่อดูแต้มคูของผู้เล่นเป็นเกณฑ์ บางทีก็มีการต่อรองข้างนอกกันอีกด้วย

- ก๒. หมากป้อง

หมากรุกประเภทนี้จะเกิดขึ้นเมื่อฝ่ายหนึ่งยอมเป็นฝ่ายเสียเปรียบโดยยอมรับว่าหากฝ่ายตรงข้ามทำการรุกโดยที่ฝ่ายป้องไม่สามารถป้องกันการรุก หรือปิดหนทางที่จะโดนรุกได้ จะเป็นฝ่ายแพ้ทันที

ผู้เล่นหมากป้อง ผู้ไม่ได้เป็นฝ่ายป้องจะแพ้เมื่อขุนจนเดินต่อไม่ได้แล้วเท่านั้น ส่วนฝ่ายป้องจะแพ้เพียงแค่ขุนโดนรุกและไม่สามารถปิดป้องได้จะเป็นฝ่ายแพ้ทันที

ผู้เล่นหมากป้องต้องมีความชำนาญสูงมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ ต้องดูให้รอบกระดานรู้หลักการรับ ขณะเดียวกับเมื่อบุกต้องไม่เปิดช่องให้อีกฝ่ายตีโต้กลับเอาได้ ผู้เล่นหมากป้องจึงต้องมีความชำนาญและมีแนวการเดินของตนเป็นพิเศษ

ข. สนามหมากรุกงานศพ

ผู้เล่นหมากรุกในงานศพมีไม่น้อย แม้บางแห่งจะถือลางว่าไม่ดีแบบว่า"เล่นหมากรุกงานศพเดี๋ยวศพจะลุกขึ้น"ประมาณนั้น แต่ยังสามารถเห็นได้โดยทั่วไป เพื่อเป็นการอยู่เป็นเพื่อนเจ้าภาพงานศพไม่ต้องเฝ้าศพตามลำพังทำให้เกิดความเหงาหงอยและโศกเศร้า การมีหมากรุกเท่ากับเป็นการเรียกร้องให้นักหมากรุกหรือผู้สนใจอยู่เป็นเพื่อนเจ้าภาพได้กลุ่มหนึ่งเป็นอย่างดี จึงเกิดหมากรุกงานศพขึ้น

หมากรุกงานศพมีลักษณะแปลกกว่าแห่งอื่นๆ เพราะผู้เล่นแต่ละฝ่ายมักไม่มีคนเดียว มักมีเพื่อนๆแทรกแย่งจับวางหรือขอเดินกันเป็นตาๆไป อาจมีสลับแทรกขอเดินแทนอยู่ทุกระยะทำให้มีผู้เล่นมากคนต่อกระดาน

ค. สนามหมากรุกตามที่ทำงานต่างๆ

สนามนี้มักมีเวลาเล่นน้อย คือระหว่างพักงานกลางวันหลังรับประทานอาหาร วันหนึ่งๆจะแข่งได้ไม่เกินหนึ่งหรือสองกระดานเป็นอย่างมากและการเล่นมักมีฝ่ายละหลายๆคนเข้าแย่งกันเดินไปมา บางแห่งอาจมีกระดานหมากรุกหลายกระดาน(มักไม่เกินสองกระดาน) จึงมีเวลาเล่นน้อยมาก

๒. สนามหมากรุกแข่งขัน next