กระดาน ตัวหมาก และ วิธีเดิน

หมากรุกไทยภูมิปัญญาไทยโดดเด่นแตกต่างจากชาติอื่นๆ มีสักกี่ประเทศที่มีรูปแบบหมากรุกเป็นของตัวเอง ประเทศที่มีหมากรุกแบบฉบับเฉพาะตัวล้วนเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมสูงทั้งสิ้น ประเทศไทยคือ ๑ ประเทศที่มีเอกลักษณ์นั้น การเรียนรู้หมากรุกไทยจึงเป็นการเรียนรู้ความเป็นไทยที่ชัดเจนอีกแขนง

ปล. หลายคนบอกประเทศไทยได้รูปแบบหมากรุกมาจากอินเดีย แต่จนทุกวันนี้ยังไม่เคยเห็นการเล่นหมากรุกแบบอินเดียเลย อาจสาบสูญไปแล้วก็ได้

กระดานหมากรุกไทย

กระดานของหมากรุกไทยเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบ่งเป็นทางกว้าง ๘ ช่องทางยาว ๘ ช่อง แต่ละช่องเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ดังนั้นในกระดานแผ่นหนึ่งจึงมีตาตารางอยู่ทั้งหมด ๖๔ ช่อง

ตารางกระดานหมากรุกไทย

ตารางกระดานหมากรุกไทย

การเรียกชื่อตารางหมากรุกไทยนั้นไม่แน่นอนแล้วแต่ความพอใจของเจ้าของตำราหมากรุกเป็นสำคัญ บางคนเรียกไล่ไปตามลำดับจาก ๑ จนถึง ๖๔

นับตาราง

บางแห่งแบ่งไปอีกแบบหนึ่งคือทางแนวตั้งหรือแนวนอน เรียกเป็นตัวอักษรไทยคือ ก ข ค ง จ ฉ ช ญ และทางอีกแนวหรืออีกแกนเรียกเป็น ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ รวมเป็น ๖๔ ช่องเหมือนกัน เวลาจะเรียกก็เรียก ช่อง ก๑ , ญ๘ เป็นต้น

กระดานหมากรุกกำหนดตัวเลขปนอักษร

นับตามแกน

จำนวนตัวหมาก

ผู้เล่นแต่ละฝ่ายจะต้องมี ๑๖ ตัว

ก. ขุน ฝ่ายละ ๑ ตัว

ข. เม็ด ฝ่ายละ ๑ ตัว

ค. โคน ฝ่ายละ ๒ ตัว

ง. ม้า ฝ่ายละ ๒ ม้า

จ. เรือ ฝ่ายละ ๒ ลำ

ฉ. เบี้ย ฝ่ายละ ๘ เบี้ย

ตำแหน่งการวางหมากรุกไทย

กระบวนหมากรุกไทย กำหนดการตั้งหมาก ดังนี้

ก. เรือทั้ง ๒ ลำ วางชิดขอบกระดานด้านริมสุด ทั้งซ้ายและขวา

ข. ม้าทั้ง ๒ ม้า วางชิดกับเรือถัดเข้ามา ทั้งซ้ายและขวา

ค. โคนทั้ง ๒ วางเรียงถัดม้าเข้ามา ทั้งซ้ายและขวา

ง. ตรงกลางเหลือ ๒ ตำแหน่ง เป็นที่ตั้ง ขุนกับเม็ด หลักควรจำคือเม็ดต้องวางทางขวาของขุน

จ. เบี้ยวางเรียงตามลำดับในช่อง โดยเว้นช่องว่างระหว่างตัวหมากจากเรือทางซ้ายจรดเรือทางขวา ๑ ช่อง

การเรียงตัวหมากรุกไทย จึงมีลักษณะนี้

การวางหมากที่ถูกต้อง
ตัวหมากรุกไทย next