การพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้

Web Accessibility คือ การจัดทำเว็บไซต์สำหรับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทั้งทางด้านเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ สภาพร่างกาย และจิตใจ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ Web Accessibility เป็นเว็บไซต์ที่ครอบคลุมกลุ่มผู้ใช้งานเว็บไซต์ทุกกลุ่มคน ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่านเว็บไซต์ได้

มาตรฐานเว็บไซต์ คือ การลดภาระการพัฒนาเว็บไซต์ที่ไม่จำเป็นทั้งหลายออกไป และเป็นการกำหนดแนวทางให้สำหรับนักพัฒนาเว็บไซต์ เพื่อการพัฒนาเว็บไซตํให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆในเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นคนพิการทางสายตาหรือผู้สูงอายุที่สายตาเลือนลาง ตลอดจนคนพิการทางการได้ยิน และคนพิการทางร่างกาย ฯลฯ ก็จะสามารถรับรู้ถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่นำเสนอผ่านทางเว็บไซต่ใด้

การสร้างเว็บไซต์จำเป็นต้องมีมาตรฐาน เพื่อให้การทำเว็บไซต์บรรลุถึงความสามารถสูงสุดที่มีอยู่ ดังนั้นมาตรฐานเว็บไซต์จึงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรับประกันว่า ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้อย่างเท่าเทียมกัน

นอกจากนี้ เพื่อทำให้การพัฒนาเว็บไซต์มีความรวดเร็วและราบรื่นมากขึ้น การทำตามมาตรฐานจะทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ที่มีความต้องการพิเศษบางอย่าง สามารถใช้งานเว็บไซตํได้ง่ายขึ้น เช่น คนตาบอดอาจจะให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อความ ในเว็บไซต์คนสายตาเลือนลางอาจใช้โปรแกรมขยายหน้าจอเพื่อให้อ่านง่ายขึ้น หรือคนที่ใช้อุปกรณ์พกพาก็สามารถเข้าใช้อินเทอร์เน็ตได้ดีพอๆ กับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป ฯลฯ มีเหตุผลหลายประการที่นักพัฒนาเว็บไซต์ควรใสํใจกับการพัฒนาเว็บ ให้เป็นไปตามมาตรฐานเว็บไซต์

การพัฒนาเว็บไซต์ไห้เป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้นั้น สิ่งสำคัญ คือ ข้อกำหนดหรือเกณฑ์ในการพัฒนาเว็บไซต์ ซึ่งในการพัฒนาเว็บไซต์มีวัตถุประสงค์ ให้เว็บไซต์สามารถผ่านข้อกำหนด หรือเกณฑ์มาตรฐาน WCAG มาตรฐานสากล การเข้าถึงเว็บไซต์ WAI (Web Accessibility Initiative) ขององค์กรกลาง W3C (World Wide Web Consortium) สำหรับประเทศไทย สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร โดยสำนักส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื้อสาร ได้มีการจัดทำรูปแบบการพัฒนาเว็บไซต์ให้เป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ และเกณฑ์มาตรฐานฉบับภาษาไทยขึ้นภายใต้ชื่อ“Thai Web Content Accessibility Guide 2008 (TWCAG2008)”

TWCAG 2008 เป็นแนวทางในการส่งเสริมให้หน่วยงานต่างๆ ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ที่ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงได้ในการรับข้อมูลสารสนเทศ และรับปริการอิเล็กทรอนิกส์

ทั้งนี้ การพัฒนาเว็บไซต์ของหน่วยงานให้เป็นเว็บไซต์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึง โดยปราศจากอุปสรรค คือ การปรับปรุง พัฒนาเว็บไซต์ให้ตรงกับมาตรฐาน ซึ่งในการพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้นี้ สามารถกำหนดรูปแบบในการพัฒนาได้ 2 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้

- การพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้แบบเรมจากศูนย์

- การพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนเข้าถึงได้แบบพัฒนาต่อจากของเดิม