ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับกฎจราจร และการจราจร

เมื่อพบป้ายข้อความ “เขตชุมชนลดความเร็ว” หมายถึงทางข้างหน้าเป็นเขตชุมชน ให้ผู้ขับขี่ลดความเร็วของรถ และขับผ่านไปด้วยความระมัดระวัง

เส้นแบ่งทิศทางจราจร

เครื่องหมาย “เส้นแบ่งทิศทางจราจร” หมายความว่า เส้นแสดงการแบ่งแยกการจราจรของยวดยานที่มีทิศทางตรงข้าม เป็นเส้นประสีขาวขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 300 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 100 เซนติเมตร แสดงให้ทราบว่าใกล้จะถึงเส้นแบ่งทิศทางจราจร ห้ามแซง ให้ขับรถไปทางด้านซ้ายของเส้นแบ่งทิศทางจราจรเตือน ยกเว้นในกรณีที่ต้องการจะเลี้ยวขวาหรือแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น อาจจะข้ามเส้นดังกล่าวได้ด้วยความระมัดระวัง

 

เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง

เครื่องหมาย “เส้นแบ่งทิศทางจราจรห้ามแซง” หมายความว่า เส้นแสดงการแบ่งแยกการจราจรของยวดยานที่มีทิศทางตรงข้าม เป็นเส้นทึบสีขาวขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร ให้ขับรถไปทางด้านซ้ายของเส้นแบ่งทิศทางจราจร ห้ามแซง ห้ามขับรถผ่านหรือคร่อมโดยเด็ดขาด

 

 

เส้นแบ่งทิศทางจราจรคู่

เครื่องหมาย “เส้นแบ่งทิศทางจราจรคู่” หมายความว่า เส้นแสดงการแบ่งแยกการจราจรของยวดยานที่มีทิศทางตรงข้าม เป็นเส้นทึบสีขาวขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ขนานไปกับเส้นประสีขาวขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 200 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 200 เซนติเมตร เส้นทั้งสองมีระยะห่างกัน 15 เซนติเมตร ห้ามผู้ขับรถที่อยู่ในทิศทางของเส้นทึบ ผ่านหรือคร่อมเส้นทึบโดยเด็ดขาด รถที่อยู่ในทิศทางของเส้นประอาจจะข้ามเส้นดังกล่าวนี้ได้ด้วยความระมัดระวัง

 

เส้นแบ่งทางจราจรห้ามแซงคู่

เครื่องหมาย “เส้นแบ่งทางจราจรห้ามแซงคู่” หมายความว่า เส้นแสดงการแบ่งแยกการจราจรของยวดยานที่มีทิศทางตรงข้าม เป็นเส้นทึบสีขาวขนาดกว้าง 10 เซนติเมตรขนานกัน มีระยะห่างระหว่างเส้น 15 เซนติเมตร ห้ามขับรถผ่านหรือคร่อมโดยเด็ดขาดทั้งสองทิศทาง

 

เส้นแบ่งช่องเดินรถปกติ

เครื่องหมาย “เส้นแบ่งช่องเดินรถปกติ” หมายความว่า เส้นแบ่งช่องเดินรถโดยทั่วๆไป เป็นเส้นประสีขาวขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 100 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 300 เซนติเมตร ให้ขับรถภายในช่องเดินรถ ห้ามขับคร่อมเส้นแบ่งช่องเดินรถ เว้นแต่จะเปลี่ยนช่องเดินรถ

 

เส้นแบ่งช่องเดินรถเตือน

เครื่องหมาย “เส้นแบ่งช่องเดินรถเตือน” หมายความว่า เส้นแบ่งช่องเดินรถประเถทเตือน เป็นเส้นประสีขาวขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 300 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 100 เซนติเมตร แสดงให้ทราบว่าใกล้จะถึงเส้นแบ่งช่องเดินรถห้ามแซง ห้ามขับคร่อมเส้นแบ่งช่องเดินรถ เว้นแต่จะเปลี่ยนช่องเดินรถ

 

เส้นแบ่งช่องเดินรถห้ามแซง

เครื่องหมาย "เส้นแบ่งช่องเดินรถห้ามแซง" หมายความว่า เส้นแบ่งช่องเดินรถห้ามแซง เป็นเส้นประสีขาวขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ห้ามขับรถผ่านหรือคร่อมเส้นแบ่งช่องเดินรถ ห้ามแซงโดยเด็ดขาด

 

 

เส้นขอบทาง

เครื่องหมาย "เส้นขอบทาง" หมายความว่า เส้นแสดงแนวขอบทาง เป็นเส้นประสีขาวขนาดกว้าง 10 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 60 เซนติเมตร ให้ขับรถในช่องจราจรด้านขวาของเส้นนั้น

 

 

เส้นแบ่งช่องเดินรถประจําทาง

เครื่องหมาย "เส้นแบ่งช่องเดินรถประจําทาง" หมายความว่า เส้นแแบ่งช่องเดินรถที่กําหนดให้เป็นช่องเดินรถสําหรับรถโดยสารประจําทางหรือรถบรรทุกคนโดยสาร ประเภทที่อธิบดีกําหนด เป็นเส้นทึบสีเหลืองขนาดกว้าง 20 เซนติเมตร ห้ามขับรถประเภทอื่นเข้าไปในช่องเดินรถประจําทาง

 

เส้นแบ่งช่องเดินรถประจําทางสามารถข้ามผ่านได้

เครื่องหมาย "เส้นแบ่งช่องเดินรถประจําทางสามารถข้ามผ่านได้" หมายความว่า เส้นแแบ่งช่องเดินรถที่กําหนดให้เป็นช่องเดินรถสําหรับรถโดยสารประจําทางหรือรถบรรทุกคนโดยสารประเภทที่อธิบดีกําหนด เป็นเส้นทึบสีเหลืองขนาดกว้าง 20 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 30 เซนติเมตร รถประเภทอื่นอาจจะผ่านเส้นทางดังกล่าวนี้ได้ด้วยความระมัดระวัง

 

เส้นแนวหยุด

เครื่องหมาย "เส้นแนวหยุด" หมายความว่า เส้นขวางถนนเป็นเส้นทึบสีขาว ขนาดกว้าง 40 เซนติเมตร ให้ผู้ขับรถหยุดรถก่อนถึงแนวเส้นขวางทุกครั้ง และให้ดูจังหวะที่รถว่าง เมื่อไม่เป็นเหตุให้กีดขวางการจราจรและไม่เกิดอันตรายแล้วจึงให้ขับรถผ่านเส้นขวางไป

เส้นให้ทาง

เครื่องหมาย "เส้นให้ทาง" หมายความว่า เส้นขวางถนนเป็นเส้นประสีขาวขนาดกว้าง 40 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร เว้นช่องห่าง 30 เซนติเมตร ให้ขับรถให้ช้าลง แล้วดูความปลอดภัยจากรถอื่นและคนเดินเท้าในทางที่ขวางหน้า ให้รถและคนเดินเท้าในทางขวางหน้าผ่านไปก่อน เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางการจราจรแล้วจึงให้เคลื่อนรถต่อไปได้ด้วยความระมัดระวัง

ลูกศรชี้ตรงไปข้างหน้า

เครื่องหมาย "ลูกศรชี้ตรงไปข้างหน้า" หมายความว่า ลูกศรสีขาว โดยมีปลายลูกศรชี้ตรงไปข้างหน้า ผู้ขับรถในช่องเดินรถนั้นต้องขับรถตรงไปข้างหน้า ห้ามเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา

 

 

ลูกศรเลี้ยวซ้าย

เครื่องหมาย "ลูกศรเลี้ยวซ้าย" หมายความว่า ลูกศรทึบสีขาว โดยมีปลายลูกศรเฉียงไปทางซ้าย ผู้ขับรถในช่องเดินรถนั้นต้องขับรถเลี้ยวซ้าย ห้ามขับรถตรงไปหรือเลี้ยวขวา

 

 

ลูกศรเลี้ยวขวา

เครื่องหมาย "ลูกศรเลี้ยวขวา" หมายความว่า ลูกศรทึบสีขาว โดยมีปลายลูกศรเฉียงไปทางขวา ผู้ขับรถในช่องเดินรถนั้นต้องขับรถเลี้ยวขวา ห้ามขับรถตรงไปหรือเลี้ยวซ้าย

 

 

ลูกศรตรงไปและเลี้ยวซ้าย

เครื่องหมาย "ลูกศรตรงไปและเลี้ยวซ้าย" หมายความว่า ลูกศรทึบสีขาว โดยมีปลายลูกศรแยกออกเป็นสองทาง ชี้ตรงทางหนึ่งกับเฉียงซ้ายอีกทางหนึ่ง ให้ผู้ขับรถในช่องเดินรถนั้นขับรถตรงไปกับเลี้ยวซ้าย ห้ามขับรถเลี้ยวขวา

 

 

ลูกศรเลี้ยวซ้ายกับเลี้ยวขวา

เครื่องหมาย "ลูกศรเลี้ยวซ้ายกับเลี้ยวขวา" หมายความว่า ลูกศรทึบสีขาว โดยมีปลายลูกศรแยกออกเป็นสองทาง ชี้เฉียงทางซ้ายทางหนึ่งกับเฉียงขวาอีกทางหนึ่ง ให้ผู้ขับรถในช่องเดินรถนั้นเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา ห้ามขับรถตรงไป

 

 

ทึบสีเหลือง

เส้น "ทึบสีเหลือง" ไม่ว่าจะเป็นเส้นเดี่ยวหรือเส้นคู่ หมายความว่า ให้ผู้ขับรถเดินรถทางด้านซ้ายของเส้น ห้ามมิให้ขับรถแซงขึ้นหน้ารถคนอื่นล้ำเส้นออกไปทางขวา (เฉพาะบนทางหลวง)

 

 

ประสีเหลือง

เส้น "ประสีเหลือง" หมายความว่า ให้ผู้ขับรถเดินรถเดินรถทางซ้ายของเส้น เว้นแต่ในกรณีที่ต้องการแซงขึ้นหน้ารถคันอื่น (เฉพาะบนทางหลวง)

 

 

ทึบสีขาว

เส้น "ทึบสีขาว" หมายความว่า ห้ามมิให้ผู้ใดขับรถคร่อมเส้นหรือเปลี่ยนช่องจราจร

 

 

 

ประสีขาว

เส้น "ประสีขาว" หมายความว่า ห้ามมิให้ผู้ใดขับรถคร่อมเส้น แต่สามารถเปลี่ยนช่องจราจรได้

 

 

เส้นทางข้าม

เครื่องหมาย "เส้นทางข้าม" หมายความว่า เส้นทึบสีขาวขนาดกว้าง 75 เซนติเมตร ยาวอย่างต่ำ 250 เซนติเมตร วางขนานกับแนวถนน ห่างกัน 50 เซนติเมตร และมีเส้นแนวหยุดหรือเส้นให้ทางก่อนถึงเส้นทางข้ามอย่างน้อย 50 เซนติเมตร ผู้ขับรถทุกชนิดจะต้องขับรถให้ช้าลงและพร้อมที่จะหยุดรถได้ทันท่วงทีเมื่อมีคนเดินข้ามถนนณ.ทางข้ามนั้น ในเขตทางข้ามถนนที่ไม่มีเจ้าหน้าที่หรือเครื่องสัญญาณควบคุม ให้ผู้เดินข้ามถนนมีสิทธิไปก่อน ฉะนั้นในขณะที่มีคนกําลังเดินอยู่ในทางข้ามถนน ให้ผู้ขับรถหยุดรถก่อนถึงเส้นแนวหยุดหรือเส้นให้ทาง และเมื่อคนเดินข้ามถนนได้ข้ามไปโดยปลอดภัยแล้วจึงจะเคลื่อนรถต่อไปได้
ทางข้ามที่มีเจ้าหน้าที่หรือสัญญาณควบคุม คนเดินเท้ามีสิทธิที่จะเดินข้ามทางได้โดยรถต่างๆต้องหยุดให้ในขณะที่มีสัญญาณห้ามรถด้านนั้น

เมื่อรถข้างหน้าได้หยุดเพื่อให้ผู้เดินเท้าข้ามถนนตรงทางข้าม ให้ผู้ขับรถที่ตามมาข้างหลังหยุดรถต่อกันไปตามลําดับ ห้ามมิให้แซงรถที่หยุดคอยข้างหน้า
ห้ามมิให้หยุดหรือจอดรถทุกชนิดตรงเขตทางข้ามถนนไม่ว่าในกรณีใดๆ ถ้ามีสัญญาณให้รถหยุดหรือการจราจรข้างหน้าติดขัดรถทุกคันจะต้องหยุดก่อนถึงแนวเส้นให้ทางห้ามมิให้หยุดล้ำเข้าไปในเขตทางข้ามถนน

ทางม้าลาย

"ทางม้าลาย" ได้แก่ แถบสีขาวหลายๆแถบประกอบเป็นทางคนข้ามขวางแนวจราจร หมายความว่า ให้ผู้ขับรถขับรถให้ช้าลงและพร้อมที่จะหยุดได้ทันท่วงที เมื่อมีคนเดินข้ามทางณ.ทางข้ามนั้นๆ การหยุดรถจะต้องไม่ให้ล้ำเข้าไปในเขตทางคนข้าม เมื่อคนเดินข้ามทางโดยปลอดภัยแล้วจึงจะเคลื่อนรถต่อไปได้

 

เส้นห้ามหยุดหรือจอดรถ

เครื่องหมาย "เส้นห้ามหยุดหรือจอดรถ" หมายความว่า ห้ามมิให้หยุดรถหรือจอดรถทุกชนิดตรงแนวนั้นเป็นอันขาด เป็นเส้นสีขาวสลับแดงมีขนาดยาว 50 เซนติเมตร แสดงที่ขอบทางของวงเวียนและที่อื่นๆ

เส้นห้ามจอด เว้นแต่หยุดรับ-ส่งชั่วขณะ

เครื่องหมาย "เส้นห้ามจอด เว้นแต่หยุดรับ-ส่งชั่วขณะ" หมายความว่า ห้ามมิให้จอดรถทุกชนิดในแนวนั้น เว้นแต่การหยุดรับ-ส่งคนหรือสิ่งของชั่วขณะ ซึ่งต้องกระทําโดยมิชักช้า เป็นเส้นสีขาวสลับสีเหลืองขนาดยาว 50 เซนติเมตร แสดงที่ขอบทางของวงเวียนและที่อื่นๆ

เส้นทแยงห้ามหยุดรถ

เครื่องหมาย "เส้นทแยงห้ามหยุดรถ" หมายความว่า เป็นเส้นทึบสีเหลืองขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร ลากทแยงตัดกัน ทํามุม 45 องศา ห่างกัน 200 เซนติเมตร ภายในกรองเส้นทึบสีเหลืองขนาดกว้าง 20 เซนติเมตร ห้ามหยุดรถทุกชนิดภายในกรอบเส้นทแยงสําหรับทางแยก ยกเว้นรถที่หยุดรถเพื่อเลี้ยวขวาตรงทางแยก

28. ข้อความ "หยุด" บนผิวทางจราจรหมายความว่า

ข้อความ “หยุด” เมื่อปรากฏอยู่ในช่องจราจรใด หมายความว่าให้ผู้ขับรถในช่องจราจรนั้นปฏิบัติตามความหมายเช่นเดียวกับป้าย“หยุด”

29. รถลักษณะใดที่ห้ามนํามาใช้ในทาง

1. รถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง มีส่วนควบอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามที่กฏมายกําหนด หรืออาจเกิดอันตรายหรือเสื่อมเสียสุขภาพอนามัยแก่ผู้ใช้รถคนโดยสารหรือประชาชน เช่น รถที่มีโคมไฟหน้าหรือโคมไฟท้ายชํารุด รถที่มีเสียงดังเกิน 85 เดซิเบล หรือรถที่มีควันดําเกินเกณฑ์ที่ทางราชการกําหนด รถที่ไม่มีกระจกด้านหน้า เป็นต้น

2. รถที่ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน (ไม่ว่าจะ 1 หรือ 2 แผ่นป้าย) ไม่ติดเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี หรือเครื่องหมายอื่นๆที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับรถกําหนด

3. รถที่มีเสียงอื้ออึง หรือมีสิ่งลากถูไปบนทางเดินรถ

4. รถที่มีล้อหรือส่วนที่สัมผัสกับผิวทางที่ไม่ใช่ยาง ยกเว้นรถที่ใช้ในราชการสงคราม หรือรถที่ใช้ในราชการตํารวจ

5. รถที่มีเสียงแตร ได้ยินในระยะน้อยกว่า 60 เมตร

6. รถที่ผู้ขับขี่ยอมให้ผู้อื่นนั่งที่นั่งแถวหน้าเกินกว่า (แถวด้านหน้าห้ามนั่งเกินกว่า 3 คนโดยรวมคนขับด้วย)

7. รถที่ไม่ได้เสียภาษีประจําปี

8. รถที่ใช้แผ่นป้ายที่ทําขึ้นเอง

30. ในการขับรถสวนทางกัน ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร

1. ให้ผู้ขับขี่ขับรถชิดทางด้านซ้ายของทางเดินรถและให้ถือกึ่งกลางของทางเดินรถ หรือเส้น หรือแนวที่แบ่งทางเดินรถเป็นหลัก

2. ทางเดินรถที่แคบ ให้ผู้ขับขี่แต่ละฝ่ายลดความเร็วของรถลงเพื่อให้สวนทางกันได้โดยปลอดภัย

3. ทางเดินรถที่แคบซึ่งไม่อาจขับรถสวนทางกันได้โดยปลอดภัย ให้ผู้ขับขี่รถคันที่ใหญ่กว่าหยุดรถชิดขอบทางด้านซ้าย เพื่อให้ผู้ขับรถคันที่เล็กกว่าขับผ่านไปก่อน

4. กรณีที่มีสิ่งกีดขวาง ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วหรือหยุดรถให้รถคันที่สวนทางขับผ่านมาก่อน

31. การขับรถในกรณีที่ด้านซ้ายของทางเดินรถมีสิ่งกีดขวาง ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร

ขับรถหลีกสิ่งกีดขวางล้ำเข้าไปในเส้นกึ่งกลางของทางเดินรถทางด้านขวาได้ และต้องไม่เป็นการกีดขวางการจราจรของรถที่สวนมา หากไม่สามารถขับผ่านไปได้ต้องหยุดรอให้รถที่ขับสวนทางขับผ่านมาก่อน

32. ในการขับรถผู้ขับขี่ต้องขับรถในทางเดินรถด้านซ้ายและต้องไม่ล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถ

เว้นแต่กรณีใดที่ผู้ขับขี่สามารถขับล้ำกึ่งกลางของทางเดินรถหรือขับเข้าไปในทางเดินรถด้านขวาได้

1. ด้านซ้ายของทางเดินรถ มีสิ่งกีดขวางหรือถูกปิดการจราจร

2. ทางเดินรถนั้น เจ้าพนักงานจราจรกําหนดให้เป็นทางเดินรถทางเดียว

3. ทางเดินรถนั้นกว้างไม่ถึง 6 เมตร

33. กรณีที่มีช่องทางเดินรถตั้งแต่ 2 ช่องทางขึ้นไป

ผู้ขับขี่รถชนิดใดต้องขับรถชิดทางด้านซ้ายสุด

1.ผู้ขับขี่รถที่มีความเร็วช้าหรือรถที่มีความเร็วต่ำกว่ารถคันอื่นที่ขับในทิศทางเดียวกัน

2.ผู้ขับขี่รถบรรทุก รถบรรทุกคนโดยสาร รถจักรยานยนต์ ยกเว้นกรณีที่มีช่องทางเดินรถประจําทาง ให้ขับรถในช่องทางเดินรถด้านซ้ายสุดที่ติดกับช่องทางเดินรถประจําทาง

34. เมื่อผู้ขับขี่ขับรถลงจากทางลาดชันหรือภูเขาจะต้องปฏิบัติอย่างไร

1. ห้ามใช้เกียร์ว่าง

2. ห้ามเหยียบคลัทซ์

3. ห้ามใช้เบรคตลอดเวลา

4. ห้ามดับเครื่องยนต์

5. ใช้เกียร์ต่ำ

6. ขับรถชิดขอบทางด้านซ้าย

7. ให้เสียงสัญญาณเตือนรถที่อาจสวนทางมา

35. ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากรถคันหน้าเป็นระยะทางเท่าใด

ห่างพอสมควรในระยะที่สามารถหยุดรถได้โดยปลอดภัย

36. การขับรถผ่านทางร่วมทางแยกที่เป็นทางเอกตัดกันและไม่ปรากฏสัญญาณหรือเครื่องหมายจราจรผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร

 

1. ถ้ามีรถอื่นอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องให้รถในทางร่วมทางแยกนั้นขับผ่านไปก่อน

2. ถ้ามาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกันและไม่มีรถอยู่ในทางร่วมทางแยก ผู้ขับขี่ต้องหยุดรถให้รถที่อยู่ทางด้านซ้ายของคนขับผ่านไปก่อน

37. ข้อกําหนดความเร็วของรถในกรณีปกติมีการกําหนดอย่างไร

1. ในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยาหรือเขตเทศบาล ขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

2. นอกเขตตามข้อ 1 ขับรถด้วยความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

38. ในขณะขับรถผู้ขับขี่ต้องมีเอกสารชนิดใด

1. ใบอนุญาตขับรถ

2. สําเนาภาพถ่ายคู่มือจดทะเบียนรถ

39. การใช้ไฟสัญญาณและสัญญาณมือของผู้ขับขี่

ในกรณีที่ต้องการจะเลี้ยวรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร

1. สัญญาณไฟให้สัญญาณไฟเลี้ยวทั้งด้านหน้าและหลังในทิศทางที่จะเลี้ยว

2. สัญญาณมือ

- เลี้ยวขวา ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปเสมอไหล่

- เลี้ยวซ้าย ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอไหล่และงอมือชูขึ้นโบกไปทางซ้ายหลายครั้ง

3.การให้สัญญาณตามข้อ 1 และ 2 ต้องให้สัญญาณก่อนที่จะเลี้ยวเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร และให้ผู้ขับขี่ซึ่งขับรถคันอื่นเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร

40. เมื่อผู้ขับขี่พบเครื่องหมาย “เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด” ผู้ขับขี่ควรปฏิบัติอย่างไร

ให้ผู้ขับขี่หยุดให้ทางแก่รถที่กําลังผ่านทางร่วมทางแยกจากทางด้านขวา และให้ทางแก่รถที่เลี้ยวขวาก่อน จึงจะเลี้ยวซ้ายผ่านไปได้

41. ในการเลี้ยวรถ

ผู้ขับขี่จะต้องขับรถในช่องทางเดินรถที่ต้องการจะเลี้ยวก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่า 30 เมตร

42. บริเวณใดห้ามกลับรถ

1. ในทางเดินรถที่สวนทางกันได้ห้ามกลับรถในขณะที่มีรถอื่นสวนทางมา หรือตามมาในระยะน้อยกว่า 100 เมตร

2. ในเขตปลอดภัยหรือที่คับขัน

3. บนสะพานหรือในระยะ 100 เมตรจากทางราบของเชิงสะพาน

4. บริเวณทางร่วมทางแยก เว้นแต่จะมีเครื่องหมายจราจรอนุญาตให้กลับรถได้

5. บริเวณที่มีเครื่องหมายห้ามกลับรถ

43. บริเวณใดห้ามแซง

1. ห้ามแซงด้านซ้ายเว้นแต่

- รถที่ถูกแซงกําลังเลี้ยวขวามาหรือให้สัญญาณจะเลี้ยวขวา

- ทางเดินนั้นได้จัดแบ่งเป็นช่องทางเดินรถในทิศทางเดียวกันตั้งแต่ 2 ช่องทางขึ้นไป

2. ห้ามแซงเมื่อรถกําลังขึ้นทางชัน ขึ้นสะพานหรืออยู่ใกล้ทางโค้ง

3. ห้ามแซงภายในระยะ 30 เมตร ก่อนถึงทางข้าม ทางร่วมทางแยก วงเวียนหรือเกาะที่สร้างไว้ หรือทางเดินรถที่ตัดข้ามทางรถไฟ

4. ห้ามแซงเมื่อมีหมอก ฝน ฝุ่นหรือควัน จะทําให้ไม่อาจเห็นทางข้างหน้าได้ในระยะ 60 เมตร

5. ห้ามแซงเมื่อเข้าที่คับขันหรือเขตปลอดภัย

6. ห้ามแซงล้ำเข้าไปในช่องเดินรถประจําทาง

7. ห้ามแซงในบริเวณที่มีเส้นแบ่งช่องการเดินรถเป็นเส้นทึบ

44. ห้ามผู้ขับขี่ขับรถในกรณีใด

1. ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ เช่น ภายหลังจากรับประทานยาแก้ไข้หวัดในขณะง่วงนอน

2. ในขณะเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่น

3. ในลักษณะกีดขวางการจราจร

4. โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน

5. ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดาหรือไม่ อาจและเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน ได้พอแก่ความปลอดภัย

6. คร่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องรถ เว้นแต่เมื่อต้องการเปลี่ยนช่องเดินรถ เลี้ยวรถหรือกลับรถ

7. บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันควร เว้นแต่รถลากเข็นสําหรับทารก คนป่วยหรือคนพิการ

8. โดยไม่คํานึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น

9. ในขณะที่เสพหรือรับเข้าร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ ซึ่งวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกลุ่มแอมเฟตามีน หรือวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอย่างอื่น (ยาบ้า)

10. ขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับรถ

11. ขับรถบนไหล่ทาง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร

12. ใช้ไฟฉุกเฉินขณะขับรถตรงไปเพื่อผ่านทางร่วมทางแยก

13. ขับรถแข่ง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร

45. ในขณะที่ขับรถ ถ้าท่านเกิดอาการง่วงนอนควรปฏิบัติอย่างไร

จอดรถและพักผ่อนก่อนออกเดินทางต่อไป

46. ข้อห้ามของผู้ขับรถ

1. ห้ามอนุญาตให้ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตขับรถขับรถของตน ห้ามใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถที่จัดทําขึ้นเอง

2. ห้ามใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถที่จัดทําขึ้นเอง

3. ห้ามให้ผู้อื่นใช้ใบอนุญาตขับรถของตน

4. ห้ามใช้รถที่ยังไม่ได้จดทะเบียน

47. เมื่อผู้ขับขี่ต้องการจะจอดรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร

1. ให้สัญญาณด้วยมือและแขนหรือสัญญาณไฟ (สัญญาณชะลอรถและยกเลี้ยว) ก่อนที่จะหยุดหรือจอดรถในระยะไม่น้อยกว่า 30 เมตร

2. หยุดหรือจอดรถได้เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่กีดขวางการจราจร

3. จอดรถทางด้านซ้ายของทางเดินรถและขนานกับขอบทางหรือไหล่ทางไม่เกิน 25 เซนติเมตร (เว้นแต่เป็นทางเดินรถทางเดียว และเจ้าพนักงานจราจรอนุญาตให้จอดรถในทางเดินรถด้านขวาได้)

4. ห้ามจอดในช่องทางเดินรถประจําทางในเวลาที่กําหนดให้เป็นช่องทางเดินรถประจําทาง

48. บริเวณใดห้ามจอดรถ

1. บนทางเท้า

2. บนสะพานหรือในอุโมงค์

3. ในทางร่วมทางแยกหรือในระยะ 10 เมตรจากทางร่วมทางแยก

4. ในทางข้ามหรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม

5. บริเวณที่มีเครื่องหมายห้ามจอดรถ

6. ในระยะ 3 เมตรจากท่อดับเพลิง

7. ในระยะ 10 เมตรจากที่ตั้งสัญญาณจราจร

8. ในระยะ 15 เมตรจากทางรถไฟผ่าน

9. จอดรถซ้อนกับรถคันอื่นที่จอดอยู่ก่อน (จอดรถซ้อนคัน)

10. บริเวณปากทางเข้าออกอาคารหรือทางเดินรถในระยะ 5 เมตรจากปากทางเดินรถ

11. ในที่คับขัน

12. ในระยะ 15 เมตรก่อนถึงบริเวณที่ติดตั้งป้ายหยุดรถประจําทางและเลยไปอีก 3 เมตร

13. ในระยะ 3 เมตรจากตู้ไปรษณีย์

14. ในลักษณะกีดขวางการจราจร

15. จอดรถทางด้านขวาในกรณีที่เป็นทางเดินรถสวนทางกัน

16. ระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทางหรือในระยะ 10 เมตรนับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้งสองข้าง

49. การจอดรถในทางเดินรถที่เป็นทางลาดหรือชัน ผู้ขับขี่จะต้องปฏิบัติอย่างไร

จอดรถโดยหันล้อหน้าของรถเข้าขอบทาง

50. ผู้ขับขี่ซึ่งจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ

ที่ผู้ขับขี่อื่นสามารถเห็นรถที่จอดได้ชัดเจนไม่น้อยกว่าระยะ 150 เมตร ผู้ขับขี่ที่จอดรถจะต้องปฏิบัติอย่างไร

ผู้ขับขี่ที่จอดรถต้องเปิดไฟส่องสว่างโดยใช้โคมไฟเล็ก โคมไฟท้ายและโคมไฟส่องป้ายทะเบียนรถ

51. บริเวณใดห้ามผู้ขับขี่หยุดรถ

1. ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจําทาง

2. บนทางเท้า

3. บนสะพานหรือในอุโมงค์

4. ในทางร่วมทางแยก

5. ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ

6. ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ

7. ในเขตปลอดภัย

8. ในลักษณะกีดขวางการจราจร

52. การให้สัญญาณด้วยมือและแขนของผู้ขับขี่ จะต้องปฏิบัติอย่างไร

1. เมื่อจะลดความเร็วของรถ ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่และโบกมือขึ้น-ลงหลายครั้ง

2. เมื่อจะหยุดรถ ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ ยกแขนขวาท่อนล่างตั้งฉากกับแขนท่อนบนและตั้งฝ่ามือขึ้น

3. เมื่อจะให้รถคันอื่นผ่านหรือแซงขึ้นหน้า ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และโบกมือไปทางข้างหน้าหลายครั้ง

4. เมื่อจะเลี้ยวขวาหรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางขวา ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่

5. เมื่อจะเลี้ยวซ้ายหรือเปลี่ยนช่องเดินรถไปทางซ้าย ให้ผู้ขับขี่ยื่นแขนขวาตรงออกไปนอกรถเสมอระดับไหล่ และงอข้อมือชูขึ้นโบกไปทางซ้ายหลายครั้ง

53. ผู้ขับขี่จะต้องใช้ไฟแสงสว่าง (ไฟหน้าและไฟท้าย) เมื่อใด

ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่จะมองเห็นคน รถ หรือสิ่งกีดขวางในทางได้โดยชัดแจ้ง ภายในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร

54. การใช้เสียงสัญญาณของรถผู้ขับขี่ต้องใช้เสียงสัญญาณอย่างไร

ใช้เสียงแตรที่ได้ยินในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร ห้ามใช้เสียงสัญญาณไซเลน เสียงสัญญาณที่เป็นเสียงนกหวีด เสียงที่แตกพร่า เสียงหลายเสียงหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่อธิบดีกําหนด และให้ผู้ขับขี่ใช้เสียงสัญญาณได้เฉพาะจําเป็นหรือป้องกันอุบัติเหตุเท่านั้น และห้ามใช้เสียงยาวหรือซ้ำเกินควรแก่ความจําเป็น